แม่ไก่สีแดง

อาจารย์ให้ทุกคนเล่านิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง คนละ 1 ประโยค ซึ่งจะทำให้เห็นว่า นิทานเรื่องแม่ไก่มีแดง ของแต่ละคน จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน แล้วให้นักศึกษาร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง

แต่ละกลุ่มนำเสนองานจากการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่ม 1 ความหมายของภาษาภาษา
คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ เช่น คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากันภาษามี 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษาความสำคัญของภาษา- ทำให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน- ทำให้เกิดความสัมพันธ์ ความเข้าใจ ความรักกันในชุมชนที่มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาเดียวกัน
กลุ่ม 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียเจต์
กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเพียเจต์แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการ ดังนี้ขั้นที่ 1 (แรกเกิด-2ปี) ใช้ประสาทสัมผัสและเคลื่อนไหวขั้นที่ 2 (2-7ปี) คิดก่อนปฏิบัติการขั้นที่ 3 (7ปีขึ้นไป) คิดแบบรูปธรรมขั้นที่ 4 คิดแบบนามธรรมการนำไปใช้ในการจัดการศึกษา- เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5- ให้เด็กได้ใช้ภาษาโดยการพูดคุย สอบถาม เพราะภาษามีความสำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาบรูเนอร์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางสมอง จึงควรส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำบรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิด ออกเป็น 3 ขั้น1. ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ2. ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ3. ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
กลุ่ม 3 จิตวิทยาการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้- แรงขับ เป็นพลังความต้องการภายในตัวบุคคล- สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้น- การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า- การเสริมแรง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่มีผลในการเพิ่มพลัง
กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษาการสอนภาษาแบบองค์รวม
คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิมหลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์นักทฤษฎีดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียงฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก
กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
หลักการจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค

1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง

-ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษา

-ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษา

-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

-จิตวิทยาการเรียนรู้

-แนวคิดนักการศึกษา

-หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2. การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร

-เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษา

-เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การใช้คำใหม่

-เพื่อให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด

-เพื่อให้เด็กได้รู้จักออกเสียงให้ถูกต้อง

-เพื่อให้เด็กสื่อสารกันผู้อื่นได้ด้วยความเข้าใจ

3. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง

-การจัดประสบการณ์ทางภาษาจะต้องประกอบด้วยทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ

การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

-ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่บังคำว่าเด็กต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้แต่ควรอธิบายว่าสิ่งที่พูดออก

มานั้นไม่เหมาะสมก็ควรแนะนำว่าต้องพูดอย่างไร เช่น เมื่อเด็กใช้คำพูดหบายคาย

-เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองใช้ภาษากับหลายๆคน ไม่จำกัดว่าต้องพูดกับพ่อแม่เท่านั้นควรเปิดโอกาสให้เด็ก

ได้พบปะกับผู้คน ได้สนทนาแลกเปลี่ยนทัศนคติบ้าง

-ให้ผู้ปครองมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็ก เช่น การพูดคุย การเล่น ร่วมกันใช้คำถาม

ว่ารู้สึกอย่างไรและให้เด็กแสดงออกมาทางภาษา เช่น วันนี้ไปสนามเด็กเล่นเป็นอย่างไร มีอะไรให้เล่นบ้าง

ค่ะ ควรสอนให้เด็กพูดจาสุภาพ อ่อนน้อม

4. แนวทางการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

-ให้ผู้ปกครองคอบดูแล เอาใจใส่ พูดคุยกับเด็กบ้าง สนธนาในเรื่องต่างๆรอบตัวหรือในชีวิตประจำวัน

-สอนให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากการฟังเพลงภาษาต่างประเทศ การดูรายการเด็ก หรือ กาตูนย์

-รับฟังเมื่อเด็กต้องการพูด ไม่ว่าจะบอกอะไร ต้องการอะไร พ่อแม่ควรรับฟัง

-พาเด็กไปสถานที่ใหม่ๆเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้พบปะผู้คน ได้เข้าสังคมในวัย

เดียวกันหรือต่างวัย

-ปล่อยให้เด็กได้พูดอย่างอิสระ ไม่ตั้งกฏเกณฑ์ว่าจะต้องพูดแบบนี้น่ะ อย่าพูดแบบนั้นออกมาน่ะ ควรให้อิสระ

เมื่อเด็กต้องการที่จะสื่ออะไรออกมา

-บทเพลงก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เด็กพัฒนาทางภาษา ให้เด็กร้องเพลง หรือฟังเพลงเพื่อให้ได้ฟังคำศัพย์ใหม่ๆ

-คอบพูดคุย ให้เด็กได้เล่าเรื่องราวต่างๆที่เด็กได้พบเห็น

5. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

ชื่อมาร้องเพลงกันเถอะ

วัตถุประสงค์

-เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทางภาษา

-ฝึกให้เด็กรู้จักคำศัพย์แปลกใหม่

-เด็กสามรถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างคล่องแค่ว

-ได้แสดงออกทางภาษามากขึ้น

กิจกรรม

- เขียนเนื้อเพลงบนกระดาษแผ่นใหญ่แล้วติดลงบนกระดานแล้วอ่านเนื้อเพลงที่ละวรรคเพื่อให้เด็กจำง่ายขึ้น

จากนั้นก็ร่วมร้องเพลงร่วมกัน

ประเมินผล

-สังเกตพฤติกรรมว่าเด็กร้องเพลงได้หรือไม่

-สังเกตการใช้คำพูด การสื่อสารอย่างเข้าใจ

-สังเกตการใช้คำอย่างถูกต้อง และออกเสียงชัดเจน

-สังเกตท่าทางระหว่างร่วมกันร้องเพลง

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

เกมส์การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย


การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย




นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ " นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป




เด็กอายุ 0 - 1 ปี
นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
เด็กอายุ 2 - 3 ปี
เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
เด็กอายุ 4 - 5 ปี
เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้ 1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก • ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น 2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง

เล่านิทาน


สังเกตพฤติกรรมเด็กอนุบาลชั้น 3จากการฟังนิทาน

(นางสาว อินทิรา จูมภาลี)


ขั้นแรก


เด็กอนุบาล 3 กำลังนั่งเขียนหนังสืออยู่ พี่ออยคือนักศึกษาปี4 ที่ฝึกสอน

จะพูดว่าเด็กๆค่ะวันนี้มีพี่นักศึกษามาเล่านิทานให้ฟังเด็กๆไปนั่งฟังนิทานน่ะค่ะ

ดิฉันก็นั่ง ก็จะมีน้องๆ3คนวิ่งเข้ามา มีน้องมายจะสนใจเป็นพิเศษเพราะน้องมายชอบอ่านหนังสือเวลาที่เล่านิทานน้องมายก็จะอ่านหนังสือนิทานที่ดิฉันเล่าอยู่ เพื่อนๆก็จะบอกว่า คุณครุค่ะ มายอ่านหนังสือได้แล้วค่ะ

ดิฉันบอกว่าเก่งมากค่ะ แต่ตอนนี้คุณครูกำลังเล่านิทานให้เด็กฟังเด็กๆต้องตั้งใจฟังน่ะค่ะเรื่องที่คุณครูกำลังจะเล่าสนุกมากเด็กๆอยากฟังไหมค่ะ จะมีน้องนั่งอยู่3 คน เด็กๆคนอื่นจะไม่ฟัง พอเล่าไป 1-2 นาที เด็กๆเริมสนใจแล้วเริ่มซักถามและตอบคำถาม เพื่อนได้ยินเสียงน้องมายตอบคำถามก็เริ่มสนใจ แล้วจามานั่งฟัง 5-6คน



สังเกตการณ์ตอบสนองของเด็ก
เด็กสนจัยอยากรู้ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป จะนั่งนิ่งๆแต่เด้กบางคนสามารถอ่านหนังสือได้

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการสอนภาษา

เทคนิคการสอนภาษา
สังเกตว่าเวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไรถ้าเด็กรู้สึกเครียด เบื่อ และครูรู้สึกไม่สนุกด้วยแสดงว่าการสอนภาษาของเราไม่ถูกต้อง
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1.ครูต้องทราบความรู้สึกของเด็ก 2.ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 3.เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ 4.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอนแบบ Whole Language 5.เด็กจะเรียนรู้ได้ดี มาจากการตัดสินใจของเด็กเอง 6.เด็กได้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 7.ไม่ให้เด็กรู้สึกว่ากำลังแข่งขันอยู่8.ครูต้องสอนทักษะทุกอย่างพร้อมๆกัน 9.ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งน่าสนใจ
ปฏิบัติในการสอนภาษาข้อ
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด 2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่ม
เด็กเก่งเด็กอ่อน 3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของภาษา


หัวข้อ : ความหมายของภาษา

ความหมายของภาษาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใดความหมายของ ภาษา อาจแยกได้เป็นความหมายโดยอรรถและความหมายโดยปริยายดังนี้ความหมายโดยอรรถ ภาษา หมายถึง1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์เครื่องมือดังกล่าวอาจได้แก่ เสียงพูด เสียงสัญญาณต่างๆ รูปภาพ แผนภูมิ ตัวอักษร ท่าทาง ฯลฯ การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่มชนซึ่งผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกันได้2. การติดต่อ การสื่อความรู้สึก ในหมู่สัตว์ด้วยกัน ได้แก่ การใช้เสียง ท่าทาง ฯลฯ3. วิชาการแขนงหนึ่ง ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น ศึกษาเพื่อให้มีทักษะ มีความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือศึกษาเพื่อรู้ระเบียบโครงสร้างของภาษา ฯลฯความหมายโดยปริยาย เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบ ภาษา อาจหมายถึง1. ความรู้ ความเข้าใจ ความมีทักษะในการ ฟัง พูด อ่าน เขียน2. กลุ่มชน เผ่า หรือชนชาติ3. ระเบียบ แบบแผน แบบอย่างอาจกล่าวโดยสรุปว่า “ ภาษา ” หมายถึง เครื่องมือในการสื่อความหมายซึ่งใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ถ้อยคำ กิริยาอาการ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ