แม่ไก่สีแดง

อาจารย์ให้ทุกคนเล่านิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง คนละ 1 ประโยค ซึ่งจะทำให้เห็นว่า นิทานเรื่องแม่ไก่มีแดง ของแต่ละคน จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน แล้วให้นักศึกษาร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง

แต่ละกลุ่มนำเสนองานจากการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่ม 1 ความหมายของภาษาภาษา
คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ เช่น คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากันภาษามี 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษาความสำคัญของภาษา- ทำให้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน- ทำให้เกิดความสัมพันธ์ ความเข้าใจ ความรักกันในชุมชนที่มีวัฒนธรรมการใช้ภาษาเดียวกัน
กลุ่ม 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียเจต์
กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเพียเจต์แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการ ดังนี้ขั้นที่ 1 (แรกเกิด-2ปี) ใช้ประสาทสัมผัสและเคลื่อนไหวขั้นที่ 2 (2-7ปี) คิดก่อนปฏิบัติการขั้นที่ 3 (7ปีขึ้นไป) คิดแบบรูปธรรมขั้นที่ 4 คิดแบบนามธรรมการนำไปใช้ในการจัดการศึกษา- เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5- ให้เด็กได้ใช้ภาษาโดยการพูดคุย สอบถาม เพราะภาษามีความสำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาบรูเนอร์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางสมอง จึงควรส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำบรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิด ออกเป็น 3 ขั้น1. ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ2. ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ3. ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
กลุ่ม 3 จิตวิทยาการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้- แรงขับ เป็นพลังความต้องการภายในตัวบุคคล- สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้น- การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า- การเสริมแรง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่มีผลในการเพิ่มพลัง
กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษาการสอนภาษาแบบองค์รวม
คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิมหลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์นักทฤษฎีดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียงฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก
กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
หลักการจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของภาษา


หัวข้อ : ความหมายของภาษา

ความหมายของภาษาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใดความหมายของ ภาษา อาจแยกได้เป็นความหมายโดยอรรถและความหมายโดยปริยายดังนี้ความหมายโดยอรรถ ภาษา หมายถึง1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์เครื่องมือดังกล่าวอาจได้แก่ เสียงพูด เสียงสัญญาณต่างๆ รูปภาพ แผนภูมิ ตัวอักษร ท่าทาง ฯลฯ การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่มชนซึ่งผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกันได้2. การติดต่อ การสื่อความรู้สึก ในหมู่สัตว์ด้วยกัน ได้แก่ การใช้เสียง ท่าทาง ฯลฯ3. วิชาการแขนงหนึ่ง ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น ศึกษาเพื่อให้มีทักษะ มีความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือศึกษาเพื่อรู้ระเบียบโครงสร้างของภาษา ฯลฯความหมายโดยปริยาย เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบ ภาษา อาจหมายถึง1. ความรู้ ความเข้าใจ ความมีทักษะในการ ฟัง พูด อ่าน เขียน2. กลุ่มชน เผ่า หรือชนชาติ3. ระเบียบ แบบแผน แบบอย่างอาจกล่าวโดยสรุปว่า “ ภาษา ” หมายถึง เครื่องมือในการสื่อความหมายซึ่งใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ถ้อยคำ กิริยาอาการ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

5111207808 อินทิรา จูมภาลี (อาย) วันที่ 6 /พ.ย./52

1.การจัดประสบการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


คือ การจัดสิ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมให้เป็นประสบการณ์ในด้านภาษาเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาได้ดี

2.บรรยากาศในห้องเรียน

สภาพแวดล้อมในห้องดูสบายๆไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไปมีคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากพอให้นักศึกษาได้ใช้ไม่ต้องแย่งกันใช้ แต่อินเตอร์เน็ตช้าไปหน่อยห้องเรียนก็กว้างไม่แออัด อาจารย์ก็พร้อมสอน

3.สรุปใจความสำคัญการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


คือการจัดเตรียมหรือวางแผนการเรียนการสอนเด็กให้พร้อม มีห้องเรียนที่น่าเรียนมีบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง เพื่อให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มที่เมื่อเด็กกล้าที่จะแสดงดวามคิดเห็นหรือความสามารถก็จะเป็นประสบการณ์ที่ดีแก่เด็ก